กฎหมายบรรจุภัณฑ์ ที่ผู้ประกอบการควรรู้
การออกแบบหรือเลือกใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าและบริการ นอกจาการายละเอียดที่ผู้ประกอบการต้องการระบุไว้บนกล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก หรือบรรจุภัณฑ์รูปแบบอื่นๆเพื่อบ่งบอกความเป็นตัวตนของสินค้าและแบรนด์ผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าได้รับรู้แล้ว รายละเอียดบางอย่างที่ระไว้ยังต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบรรจุภัณฑ์กำหนดไว้ด้วย
กฎหมายบรรจุภัณฑ์ ที่ผู้ประกอบการควรรู้
การที่ผู้บริโภคใส่ใจและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ รวมถึงการตื่นตัวของสังคมในการรณรงค์ให้รักษ์โลก ลดปัญหามลภาวะและสภาพแวดล้อมเป็นพิษ กฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์จึงออกมาเพื่อป้องกันผู้ประกอบการทำผิดกฎหมายโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ที่ควรรู้ มีดังนี้
1.พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ.2466
เป็นพระราชบัญญัติที่ร่างขึ้น เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้บริโภคสินค้าตามปริมาณที่กำหนด ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องระบุจำนวนหรือปริมาณไว้ในกล่องกระดาษ หรือระบุไว้ในฉลากบรรจุภัณฑ์ตามที่กฎหมายระบุหรือกำหนดไว้
2.พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522
สาระสำคัญในพระราชบัญญัติฉบับนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร และการขึ้นทะเบียนฉลากอาหาร
2.1 การขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าอาหารควบคุมเฉพาะ ต้องนำอาหารนั้นมาขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารก่อนเมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนอาหารแล้ว จึงผลิตหรือนำเข้าเพื่อจำหน่ายได้ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งปรับทั้งจำ
2.2 การขอขึ้นทะเบียนฉลากอาหาร อาหารควบคุมเฉพาะที่กำหนดคุณภาพ และที่กำหนดให้มีฉลากต้องขึ้นทะเบียนอาหารและขออนุญาตใช้ฉลาก เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะทำการผลิตและนำฉลากอาหารมาแสดงไว้ที่กล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก หรือกล่องบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มรูปแบบต่างๆ
องค์กรที่รับผิดชอบพระราชบัญญัติเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์
- สำนักงานกลางชั่งตวงวัด กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์
- คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
- คณะกรรมการผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี
- สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม
หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์
- ส่วนอุตสาหกรรมการเกษตร สำนักงานพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หน้าที่รับผิดชอบได้แก่ ให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อการแก้ไขปัญหา และปรับปรุงเทคนิคการผลิต ตลอดจนการให้บริการ ข้อมูลข่าวสารอุตสาหกรรม และข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่สถานประกอบการ
- ส่วนบรรจุภัณฑ์ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หน้าที่รับผิดชอบได้แก่ ให้บริการแนะนำส่งเสริมและพัฒนาบรรจุภัณฑ์แก่ผู้ประกอบการ เช่น การออกแบบกล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก หรือเลือกใช้เยื่อกระดาษขึ้นรูปให้เหมาะกับบรรจุภัณฑ์
- ศูนย์บริการการออกแบบ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมการส่งออก หน้าที่รับผิดชอบได้แก่ การพัฒนาออกแบบสินค้า ส่งออกสำคัญ 4 ชนิด คือ เครื่องหนัง อัญมณี ผลิตภัณฑ์พลาสติก และของเด็กเล่น
- ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย นโยบายหลัก ได้แก่ สนับสนุนนโยบายการบรรจุภัณฑ์ของประเทศ เสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กร เพื่อสนองความต้องการของผู้ประกอบการ รวบรวม แลกเปลี่ยน และบริการข้อมูลด้านวิทยา ศาสตร์ และเทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ และประสานงานระหว่างผู้ผลิต ผู้ใช้ ทั้งในและต่างประเทศ
- สถาบันค้นคว้าและวิจัยผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีขอบเขตการทำงาน เช่น ารควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อการบริโภคทั้งในประเทศและการส่งออก ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของภาครัฐเอกชน ในการวิจัยการศึกษา ค้นคว้า และฝึกอบรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางอาหาร
กฎหมายบรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจที่กำลังคิดจะสร้างแบรนด์สินค้าเป็นของตนเองควรศึกษาไว้เป็นความรู้ นอกจากเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์อื่นๆ ยังมีสาระสำคัญในพระราชบัญญัติที่เป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจในหลายๆด้าน