กระดาษใส่อาหาร – FOOD GRADE PAPER

กระดาษ Food Grade หรือ Food Direct Contact คืออะไร

มีคุณสมบัติอย่างไร แตกต่างจากกระดาษทั่วไปอย่างไร และต้องมีมาตรฐานสากลรองรับ

กระดาษ Food Grade คือ

กระดาษ Food Grade หรือกระดาษที่สามารถสัมผัสอาหารโดยตรง (Food Direct Contact) คือกระดาษที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยสำหรับการบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม ถูกออกแบบให้ไม่มีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายและสามารถป้องกันการซึมผ่านของไขมันหรือความชื้นได้ดี กระดาษประเภทนี้ถูกใช้ในบรรจุภัณฑ์อาหารหลากหลาย เช่น กล่องอาหาร กล่องข้าว ถ้วยกระดาษ แก้วกาแฟ กล่องเค้ก และกระดาษห่ออาหาร ซึ่งต้องมีคุณสมบัติเฉพาะเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค

คุณสมบัติของกระดาษ Food Grade

กระดาษที่ได้รับการรับรองว่าเป็น Food Grade จะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญดังต่อไปนี้

  • ไม่มีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย – ต้องปราศจากสารเคมีที่เป็นพิษ เช่น สารฟอกขาวคลอรีน (Chlorine), ฟีนอล (Phenol), ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde), และโลหะหนัก ที่อาจตกค้างและปนเปื้อนสู่อาหา
  • ไม่มีสารเคลือบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ – กระดาษที่ใช้สำหรับบรรจุอาหารจะมีการเคลือบสารเพื่อกันซึม เช่น PE (Polyethylene), PLA (Polylactic Acid), หรือ Bio-Coating ที่ปลอดภัยและไม่ละลายลงสู่อาหา
  • ป้องกันน้ำมันและความชื้น – กระดาษต้องสามารถป้องกันการซึมของไขมันหรือน้ำเพื่อให้เหมาะกับอาหารประเภทที่มีน้ำมันสูง เช่น พิซซ่า เบอร์เกอร์ หรืออาหารทอด
  • เป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม – กระดาษ Food Grade มักผลิตจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์ (Virgin Pulp) และต้องสามารถย่อยสลายทางชีวภาพ หรือรีไซเคิลได้ง่าย
  • ทนต่ออุณหภูมิ – กระดาษต้องสามารถทนต่อความร้อนและความเย็นได้ดี เช่น แก้วกระดาษที่ใช้ใส่กาแฟร้อน หรือภาชนะกระดาษที่สามารถอุ่นไมโครเวฟได้

คุณสมบัติกระดาษ Food Grade แตกต่างจากกระดาษทั่วไปอย่างไร ?

  • กระดาษ Food Grade กระดาษทั่วไปปลอดภัยต่ออาหาร
  • ไม่มีสารเคมีตกค้าง
  • ทนต่อไขมันและความชื้น
  • ผ่านการรับรองมาตรฐาน
  • สามารถสัมผัสอาหารโดยตรง
  • กระดาษทั่วไป เช่น กระดาษถ่ายเอกสาร หรือกระดาษลัง ไม่เหมาะกับการนำมาสัมผัสอาหารโดยตรง เนื่องจากอาจมีสารเคมีตกค้างและไม่ผ่านการรับรองด้านความปลอดภัย

ประเภทของกระดาษ Food Grade สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม

กระดาษ Food Grade เป็นกระดาษที่ผ่านการรับรองว่าปลอดภัยสำหรับการสัมผัสอาหารโดยตรง โดยไม่มีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย ทั้งนี้กระดาษ Food Grade มีหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละแบบมีคุณสมบัติเฉพาะที่เหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกัน เราจะมาทำความรู้จักกับประเภทของกระดาษ Food Grade ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม

1. กระดาษคราฟท์ Food Grade (Kraft Paper Food Grade)

ลักษณะและคุณสมบัติ ผลิตจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์ (Virgin Pulp) หรือเยื่อกระดาษรีไซเคิลที่ผ่านการรับรอง มีสีธรรมชาติ ได้แก่ สีน้ำตาลและสีขาว มีความเหนียว ทนทาน รองรับน้ำหนักอาหารได้ดี สามารถเคลือบสารกันซึม เช่น PE (Polyethylene), PLA (Polylactic Acid), หรือ Bio-Coating เหมาะสำหรับ ถุงกระดาษ กล่องอาหาร และห่ออาหาร การใช้งานสำหรับกล่องข้าว กระดาษห่อเบอร์เกอร์ และถุงใส่ขนมปัง ,ถุงกระดาษใส่อาหารทอด เช่น เฟรนช์ฟรายส์ นักเก็ต ,กล่องพิซซ่า และกล่องอาหารที่ต้องการความแข็งแรง

2. กระดาษพาร์ชเมนต์ (Parchment Paper) หรือกระดาษไข (Greaseproof Paper) 

ลักษณะและคุณสมบัติ มีพื้นผิวเรียบและเคลือบสารที่ช่วยป้องกันการซึมผ่านของน้ำมัน ทนความร้อนสูง (ใช้ได้ในเตาอบและไมโครเวฟ) ไม่มีสารเคมีอันตราย สามารถสัมผัสอาหารได้โดยตรง การใช้งานสำหรับรองอบขนม หรือใช้ห่อเบเกอรี่ เช่น คุกกี้ ครัวซองต์ ใช้เป็นกระดาษห่ออาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไก่ทอด เบอร์เกอร์ และกระดาษรองถาดขนมปัง หรือกระดาษรองเค้ก

3. กระดาษเคลือบ PE (PE Coated Paper)

ลักษณะและคุณสมบัติ เคลือบด้วย Polyethylene (PE) เพื่อกันซึมของน้ำและน้ำมัน มีความแข็งแรง ทนทานต่อของเหลว นิยมใช้ในอุตสาหกรรม แก้วกระดาษและถ้วยกระดาษ
การใช้งาน แก้วกระดาษใส่กาแฟร้อนและชาเย็น,ถ้วยกระดาษใส่อาหาร เช่น ซุปหรือของหวาน และกระดาษรองอาหารกันซึม เช่น กระดาษรองถาดเสิร์ฟอาหาร เป็นต้น

4. กระดาษเคลือบ PLA (PLA Coated Paper) – ทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ลักษณะและคุณสมบัติ เคลือบด้วย Polylactic Acid (PLA) ซึ่งเป็นพลาสติกชีวภาพ (Bio-Plastic) ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ (Compostable) มีคุณสมบัติกันซึมของน้ำและน้ำมันเหมือน PE แต่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การใช้งาน แก้วกระดาษรักษ์โลก ที่ใช้ PLA แทน PE ,กล่องอาหารรักษ์โลก ที่สามารถย่อยสลายได้และภาชนะกระดาษที่ใช้แทนพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง

5. กระดาษฟอยล์ (Foil Paper) – ป้องกันความร้อนและรักษาอุณหภูมิ

ลักษณะและคุณสมบัติ เคลือบด้วยแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ ช่วยรักษาความร้อนกันความชื้นและน้ำมันได้ดี นิยมใช้ในบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการ คงอุณหภูมิของอาหาร การใช้งานกระดาษห่ออาหารร้อน เช่น เบอร์ริโต แซนด์วิชร้อนและภาชนะกระดาษที่ต้องการเก็บความร้อน เช่น กล่องอาหารสำเร็จรูป

6. กระดาษสำหรับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม (Cupstock Paper)

ลักษณะและคุณสมบัติเป็นกระดาษที่ผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับ แก้วกระดาษและฝาถ้วย เคลือบด้วย PE หรือ PLA เพื่อป้องกันการรั่วซึม ทนต่อของเหลวร้อนและเย็น การใช้งานแก้วกระดาษร้อนและเย็น สำหรับกาแฟ ชา และเครื่องดื่มเย็นและฝาแก้วกระดาษที่สามารถย่อยสลายได้

มาตรฐานสากลที่รองรับกระดาษ Food Grade

เพื่อให้มั่นใจว่ากระดาษสามารถนำมาใช้บรรจุอาหารได้อย่างปลอดภัย จำเป็นต้องผ่านมาตรฐานและการรับรองจากองค์กรสากล
  • FDA (Food and Drug Administration – USA) มาตรฐาน CFR 21, Part 176.170 กำหนดข้อกำหนดของกระดาษที่ใช้สัมผัสอาหารโดยตรง ต้องไม่มีสารอันตรายปนเปื้อนและต้องสามารถป้องกันการดูดซึมของสารเคมีลงสู่อาหารได้
  • EU Regulation No. 1935/2004 (European Union) กำหนดให้วัสดุที่ใช้บรรจุอาหารในยุโรปต้องไม่มีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายและต้องได้รับการทดสอบด้านความปลอดภัย
  • BfR (Bundesinstitut für Risikobewertung – Germany) มาตรฐานความปลอดภัยของบรรจุภัณฑ์อาหารในประเทศเยอรมนี โดยควบคุมเรื่องสารตกค้างและการใช้สารเคลือบที่เป็นอันตราย
  • ISO 22000 (International Organization for Standardization) มาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยของอาหาร ครอบคลุมกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
  • GB 4806.8-2016 (China) มาตรฐานกระดาษ Food Grade ของจีนที่กำหนดข้อจำกัดเรื่องการใช้สารเคมีและการทดสอบความปลอดภัย

ความสำคัญการทดสอบ Migration

การทดสอบ Migration เป็นกระบวนการตรวจสอบว่า สารจากบรรจุภัณฑ์มีการเคลื่อนย้ายเข้าสู่อาหารหรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร
  • ตรวจสอบว่ามี สารเคมีหรือโลหะหนักปนเปื้อนสู่อาหารหรือไม่
  • ทดสอบภายใต้ อุณหภูมิและสภาวะที่แตกต่างกัน เช่น อาหารร้อน อาหารมัน
  • Heavy Metal Test (การทดสอบโลหะหนัก)
  • ตรวจสอบการปนเปื้อนของ ตะกั่ว แคดเมียม และสารอันตรายอื่นๆ
  • Fluorescent Test (การทดสอบสารเรืองแสงจากสารฟอกขาว)
  • กระดาษ Food Grade ต้องไม่มี สารฟอกขาวที่เป็นอันตราย เช่น คลอรีน
  • Oil and Water Resistance Test (การทดสอบการกันน้ำและน้ำมัน)
  • ทดสอบว่ากระดาษสามารถ ป้องกันการซึมผ่านของของเหลวได้ดีแค่ไหน4. วิธีเลือกใช้กระดาษ Food Grade ที่ปลอดภัย
  • ตรวจสอบฉลากมาตรฐาน เช่น FDA, EU, BfR, ISO 22000
  • เลือกกระดาษที่ไม่มีสารเคลือบอันตราย เช่น BPA หรือ PVC
  • ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ระบุว่า “Food Contact Safe” หรือ “Certified for Direct Food Contact”
  • เลือกกระดาษที่ผ่านการทดสอบ Migration และ Heavy Metal Test

ประเภทของการทดสอบ Migration

  • Global Migration Test ตรวจสอบปริมาณสารที่แพร่เข้าสู่อาหารโดยรวม
  • Specific Migration Test ตรวจสอบสารเคมีเฉพาะที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ หรือสาร BPA

เหตุผลที่ต้องมีการทดสอบ

  • เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมีจากบรรจุภัณฑ์สู่อาหาร
  • เพื่อให้มั่นใจว่ากระดาษที่ใช้ ปลอดภัย ตามมาตรฐานสากล
  • เป็นข้อกำหนดทางกฎหมายในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและยุโรป

วิธีเลือกบรรจุภัณฑ์กระดาษ Food Grade ที่ปลอดภัย

ในปัจจุบัน บรรจุภัณฑ์กระดาษใส่อาหารและเครื่องดื่ม ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถย่อยสลายได้ง่าย แต่การที่บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ได้รับการรับรองว่าเป็น Food Grade จากผู้ผลิต ไม่ได้หมายความว่าทุกชนิดปลอดภัย 100% ผู้บริโภคควรมีเกณฑ์ในการตรวจสอบด้วยตนเองว่าบรรจุภัณฑ์นั้น ปลอดภัยจริงหรือไม่

1. Food Grade ที่แท้จริงไม่ใช่แค่มีใบรับรอง แม้ว่าบรรจุภัณฑ์จะมี ใบรับรอง (Certification) จากองค์กรต่างๆ เช่น FDA, EU Regulation, ISO 22000 แต่ต้องพิจารณามากกว่าตัวเอกสาร เพราะบางครั้งอาจเป็นเพียงการรับรองในขั้นต้น แต่กระบวนการผลิตจริงอาจไม่สอดคล้องกับมาตรฐานเหล่านั้นเสมอไป

2. วิธีตรวจสอบบรรจุภัณฑ์กระดาษ Food Grade ที่ปลอดภัยจริง เลือกบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์ (Virgin Pulp) กระดาษที่ผลิตจาก Virgin Pulp มาจากเยื่อไม้ใหม่ 100% ไม่มีสารปนเปื้อนจากกระดาษรีไซเคิล และหลีกเลี่ยงกระดาษรีไซเคิลที่ไม่มีการรับรอง เพราะอาจมีสารตกค้าง เช่น หมึกพิมพ์ โลหะหนัก หรือกาวอุตสาหกรรม

3. ตรวจสอบว่ามีการเคลือบสารกันซึมที่ปลอดภัย กระดาษเคลือบ PE (Polyethylene) – กันน้ำมันได้ดี แต่ต้องเลือกแบบ ปราศจากสาร BPA (Bisphenol A) ซึ่งอาจเป็นอันตราย กระดาษเคลือบ PLA (Polylactic Acid) – เป็น Bio-Coating จากพืช ที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ปลอดภัยต่อสุขภาพ และ Bio-Coating อื่นๆ – เทคโนโลยีใหม่ เช่น การเคลือบด้วยแว็กซ์จากพืช ปราศจากพลาสติก

4. ตรวจสอบว่าผ่านการทดสอบ Migration Test หรือไม่ Migration Test คือการทดสอบว่าสารเคมีจากบรรจุภัณฑ์จะซึมเข้าสู่อาหารหรือไม่ กระดาษ Food Grade ที่ดีต้องผ่านการทดสอบ ภายใต้อุณหภูมิและเงื่อนไขการใช้งานจริงและตรวจสอบว่ามีข้อมูลผลการทดสอบจาก ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง

5. ดูหมึกพิมพ์ที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์ ควรเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ใช้หมึกถั่วเหลือง (Soy-based ink) หรือหมึกน้ำ (Water-based ink) ซึ่งปลอดภัย และหลีกเลี่ยงบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ หมึกพิมพ์ที่ไม่มีมาตรฐาน เพราะอาจมีสารระเหยและโลหะหนัก

6. ตรวจสอบว่ากระดาษปราศจากสารฟอกขาวคลอรีน (Chlorine-Free Paper) กระดาษที่ปลอดภัยจริงต้อง ไม่มีสารฟอกขาวคลอรีน (Chlorine Dioxide) ที่เป็นสารก่อมะเร็ง และกระดาษที่ดีที่สุดคือแบบ Totally Chlorine Free (TCF) หรือ Process Chlorine Free (PCF)

7. บรรจุภัณฑ์ต้องไม่มีกลิ่นเคมีตกค้าง กระดาษที่ไม่ได้มาตรฐานอาจมีกลิ่นสารเคมีตกค้างจากกระบวนการผลิต และควรเลือกกระดาษที่ ไม่มีกลิ่นผิดปกติ หรือมีกลิ่นของหมึกพิมพ์ติดอยู่