ความต้านแรงกดในแนวเดียวกับลูกฟูก-Edge Wise Crush Resistance

ความต้านแรงกดในแนวเดียวกับลูกฟูก (Edge Wise Crush Resistance) เป็นการทดสอบความแข็งแรงของกระดาษลูกฟูกในการต้านแรงกดในแนวตั้ง และทดสอบความสามารถของแผ่นกระดาษลูกฟูกรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากในการต้านแรงกดที่กระทำลงมาในทิศทางเดียวกับลอนลูกฟูกจนแผ่นทดสอบหักหรือยุบมีหน่วยเป็น กิโลนิวตันต่อเมตร (kN/m) การทดสอบนี้มีความสำคัญต่อแผ่นกระดาษลูกฟูก เพราะเป็นค่าบอกความแข็งแรงของแผ่นกระดาษลูกฟูกซึ่งมีความสัมพันธ์กับความต้านแรงกดวงแหวนและความสามารถในการรับแรงกดหรือการเรียงซ้อนของกล่องกระดาษลูกฟูก

ขั้นตอนการทดสอบ
1. ตัดชิ้นงานขนาด 2.5*10 cm.
2. กระดาษที่ได้ใส่เข้ายังตัวประคอง
3. วางชิ้นทดสอบลงบนแท่นล่าง (Lower Plate)
ตามแนวตั้งของลอนลูกฟูก เพื่อหาค่าชิ้นงาน
มาตรฐานการทดสอบ ISO 03037, TAPPI T 811, JIS Z 0401

ความต้านแรงกดวงแหวน-Ring Crush Resistance

ความต้านแรงกดวงแหวน (Ring Crush Resistance) ความสามารถของกระดาษในการรับแรงกดที่กระท้าลงมาในแนวเดียวกับระนาบของกระดาษ จนขอบกระดาษหัก มีหน่วยเป็น นิวตัน (N) หรือ กิโลกรัมแรง (Kgf) ค่าความต้านแรงกดวงแหวนของกระดาษในแนวขวางเครื่องจะมีความสัมพันธ์กับความต้านแรงกด หรือ ความแข็งแรงในการเรียงซ้อนของกล่องกระดาษ ซึ่งกดจนกระดาษหักยุบตัวลง ความต้านทานแรงกดวงแหวนของกระดาษในแนวขวางเครื่องจักร (Ring Crush CD) เป็นคุณภาพกระดาษที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความสามารถในการต้านทานแรงกด กล่อง (Box Compression Strength/Test) ซึ่งเป็นคุณภาพที่จําเป็น ต่อการกองเก็บเคลื่อนย้ายและขนส่งสินค้าบรรจุกล่องลูกฟูก

ขั้นตอนการทดสอบ
1. ตัดชิ้นทดสอบขนาด152.4*12.7 มม. ด้วยเครื่อง Die cutter
2. สอดชิ้นทดสอบลงในอุปกรณ์ Ring crush fixture ให้เป็นรูปวงแหวน
3. วางชุดชิ้นทดสอบบนแทน (LOWER PLATE) เพื่อทำการทดสอบหาค่าชิ้นงาน
มาตรฐานการทดสอบ TAPPI T818 , TAPPI T 822

ชนิดของกระดาษ – TYPE OF PAPER

ชนิดของกระดาษลูกฟูก มีทั้งแบบ กระดาษลูกฟูก 3 ชั้น และ กระดาษลูกฟูกม้วน 2 ชั้น  ถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้อย่างมากในปัจจุบัน โดยนิยมนำไปทำเป็นบรรจุภัณฑ์ เพื่อไว้ใส่สินค้าต่างๆ ก่อนนำไปจัดส่ง เนื่องจากกระดาษลูกฟูกมีคุณสมบัติพิเศษมากมายที่มีความเหมาะสม เช่น ความแข็งแรง ทนทาน น้ำหนักเบา และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งชนิกดของกระดาษลูกฟูกสามารถแบ่งเป็นเกรด ซึ่งแตละชนิดก็จะมีคุณสมบัติที่จะใช้ในการนำไปผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ ที่สามารถบรรจุสินค้าได้หลากหลายรูปแบบ มาดูกันว่าเกรดหรือชนิดของกระดาษจะมีกี่เกรด

 

KS – กระดาษคราฟท์สีขาวสำหรับทำผิวกล่อง มีความเรียบ สะอาด เหมาะสำหรับ กล่องที่เน้นความสวยงาม และ ช่วยให้การพิมพ์ที่มีสีสันชัดเจน ดูโดดเด่น เพิ่มคุณค่า ให้สินค้าที่บรรจุภายใน นอกจากนี้ กระดาษ KS ยังมีความแข็งแรงสูง สามารถปกป้อง สินค้าได้ดี นิยมใช้สำหรับ กล่องเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเพื่อการส่งออก และกล่องอุปโภค บริโภค ที่ต้องการบ่งบอกถึงความมีระดับของสินค้า เป็นต้น (น้ำหนักมาตราฐาน : 170 กรัม/ตารางเมตร)

KA – กระดาษคราฟท์สีเหลืองทองสำหรับทำผิวกล่องมีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ สามารถรองรับน้ำหนักได้ดีเยี่ยม และเป็นสีที่นิยมใช้กันมากในประเทศ เหมาะสำหรับ สินค้าอะไหล่ยนต์ อาหารกระป๋อง กล่องเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการความมั่นใจในเรื่อง ความแข็งแรงทุกรูปแบบ ทั้งการเรียงซ้อน และ การป้องกันการกระแทก ( น้ำหนักมาตราฐาน : 125, 150, 185, 230 กรัม/ตารางเมตร )

KI – กระดาษคราฟท์สีน้ำตาลอ่อนสำหรับทำผิวกล่อง สีอ่อนสบายตาเหมาะกับงานพิมพ์ ภาพหรือตัวหนังสือ ให้มีสีสวยงามด้านการพิมพ์เป็นรองเพียงกระดาษ KS เท่านั้น นิยมใช้กับสินค้าที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมากเท่า KA เหมาะกับกล่องสินค้าทั่วไป เช่น กล่องอาหารสำเร็จรูป กล่องเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการพิมพ์เป็นภาพสี เป็นต้น ( น้ำหนักมาตราฐาน : 125, 150, 185 กรัม/ตารางเมตร )

KT – กระดาษคราฟท์สีน้าตาลสำหรับทำผิวกล่อง ผลิตจากเยื่อ Recycle100%เพื่อส่งเสริมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแต่ยังคงความสวยงามและความแข็งแกร่ง เหมาะสำหรับกล่องที่ต้องการความมั่นใจในเรื่องความแข็งแรงเหมาะสำหรับการส่งออก ซึ่งสินค้า แบรนด์ต่างประเทศนิยมใช้ ( น้ำหนักมาตราฐาน : 125, 150, 175, 205 กรัม/ตารางเมตร )

KK – กระดาษคราฟท์สีน้ำตาลสำหรับทำผิวกล่อง ผลิตจากเยื่อ Recycled 100% เพื่อส่งเสริมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแต่ยังคงความสวยงามและความแข็งแกร่ง มีคุณสมบัติเด่นในเรื่องการวางเรียงซ้อนเหมาะกับสินค้าส่งออกที่ระบุให้ใช้กล่องที่ทำจากเยื่อ Recycled ทั้งหมด ( น้ำหนักมาตราฐาน : 125, 150,185 กรัม/ตารางเมตร )

CA – กระดาษคราฟท์สีน้าตาลสำหรับทำลอนลูกฟูก ผลิตจากเยื่อ Recycle 100%เพื่อส่งเสริมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เหมาะสำหรับใช้ทำลอนลูกฟูกกล่องกระดาษทุกชนิด หรือใช้ทำเป็น LINER BOARDคุณสมบัติรับน้ำหนักการเรียงซ้อนได้หลายชั้น และทนแรงกระแทก บางครั้ง CA อาจถูกนำมาใช้ทำเป็นกระดาษทำผิวกล่องด้านหลังเพื่อลดต้นทุน ( น้ำหนักมาตราฐาน : 85 100 105 115 125 150 185 กรัม/ตารางเมตร )

ประเภทของลอนกระดาษ – TYPE OF FLUTE

เนื่องจากในทุกวันนี้ธุรกิจออนไลน์ ได้เติบโตขึ้นอย่างมากมาย ทางโรงงานผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก จึงมองเห็นความสำคัญของกล่องกระดาษลูกฟูก และได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษลูกฟูกขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ตัวกล่องกระดาษลูกฟูกเป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องกระดาษที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตอนนี้ เหตุเพราะมีคุณลักษณะที่แข็งแรงนิยมใช้ในการขนส่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ต่างจำเป็นที่จะต้องใช้งาน แต่กล่องกระดาษลูกฟูกก็มีลักษณะของลอนที่แตกต่างกันออกไป ส่วนจะแตกต่างอย่างไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

ประเภทของลอนกระดาษลูกฟูก

กระดาษลูกฟูก มีความแตกต่างกันออกไป โดยตามแต่ละขนาดจะถูกนำไปใช้งานที่แตกต่างเช่นกัน โดยส่วนใหญ่นิยมนำกระดาษลูกฟูกเพื่อใช้ในการขึ้นรูป หรือประกอบเป็นกล่องบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำไปใส่สินค้าและวัสดุต่างๆ โดยลอนของกระดาษลูกฟูก มีขนาดมาตรฐาน 5 ชนิด ดังนี้

Single Face / กระดาษลูกฟูก 2 ชั้น

ประกอบไปด้วย กระดาษแผ่นเรียบ 1 แผ่น ปะกบกับลอนลูกฟูกแผ่นนิยมใช้กันกระแทกสินค้า หรือ ปะกล่อง offset

Single Wall / กระดาษลูกฟูก 3 ชั้น

ประกอบไปด้วย กระดาษแผ่นเรียบ 2 แผ่น ปะกบกับ ลอนลูกฟูก 1 แผ่น โดยลอนลูกฟูก จะอยู่ตรงกลางระหว่าง กระดาษแผ่นเรียบทั้ง 2 แผ่นมักใช้กับสินค้าที่มีน้ำหนักปานกลาง หรือ ไม่เน้นความแข็งแรงมาก ลอนมาตรฐาน : A, B, C, E

Double Wall / กระดาษลูกฟูก 5 ชั้น

ประกอบไปด้วย กระดาษแผ่นเรียบ 3 แผ่น ปะกบกับ ลอนลูกฟูก 2 แผ่นโดยกระดาษลอนลูกฟูกที่อยู่ติดกับผิวกล่องด้านนอกจะเป็นลอน B เพื่อประโยชน์ทางการ พิมพ์ และ กระดาษลอนลูกฟูกที่อยู่ด้านในจะเป็นลอน C เพื่อประโยชน์ทางด้าน รับแรงกระแทก นิยมใช้สำหรับสินค้าที่ต้องการการป้องกันสูงหรือมีน้ำหนักมาก

Triple Wall / กระดาษลูกฟูก 7 ชั้น

ประกอบไปด้วย กระดาษแผ่นเรียบ 4 แผ่น ปะกบกับ ลอนลูกฟูก 3 แผ่นโดยกระดาษลอนลูกฟูกที่อยู่ติดกับผิวกล่องด้านนอกจะเป็นลอน B เพื่อประโยชน์ทางการ พิมพ์ และ กระดาษลอนลูกฟูกที่อยู่ด้านในจะเป็นลอน C และ ลอน Aเพื่อประโยชน์ทางด้าน รับแรงกระแทก หรือใช้ทดแทนลังไม้นิยมใช้สำหรับสินค้าที่ต้องการการป้องกันสูงมาก หรือมีน้ำหนักมาก

Micro Flute / ลอนกระดาษลูกฟูกจิ๋ว (ลอนจิ๋ว)

กระดาษลูกฟูกลอนจิ๋ว (Micro flute) เป็นชื่อที่เรียกกระดาษลูกฟูกขนาดเล็ก โดยมีความสูงเพียงแค่ 0.5 – 0.6 มม ในอุตสาหกรรมกระดาษลูกฟูก จะเรียกลอนชนิดนี้ว่า ลอน F และ ลอน G ชนิดของลอนกระดาษลูกฟูก โดยทั่วไปมี 6 ชนิดคือ ลอน A,B,C,E,F,G ซึ่งจำแนกตามความสูงของแต่ละชนิดลอน กระดาษลูกฟูกลอนจิ๋วจะมีลักษณะเด่น หลายด้าน อาทิเช่น มีพื้นผิวเรียบ  ขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์ได้ง่าย,มีคุณภาพการพิมพ์ดีและสวยงาม,มีความได้เปรียบของการรับการกระแทก กว่ากระดาษในกลุ่มเดียวกัน ลักษณะเบา และบาง ทำให้ช่วยลดค่าขนส่งได้ วัตถุดิบ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  สามารถนำไปรีไซเคิลเพื่อกลับมาใช้ใหม่ได้ ไม่เทอะทะ กะทัดรัด  ลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า,ใช้พื้นที่น้อยในการจัดเก็บขยะ

ลักษณะของกล่องกระดาษ – TYPE OF CORRUGATED PAPER BOX

กล่องกระดาษลูกฟูกประกอบไปด้วย

  • กระดาษแผ่นเรียบ 1 แผ่น ปะกบกับลอนลูกฟูก 1 แผ่น นิยมใช้กันกระแทกสินค้า หรือ ปะกล่อง offset.
  • ประกอบไปด้วย กระดาษแผ่นเรียบ 2 แผ่น ปะกบกับ ลอนลูกฟูก 1 แผ่น โดยลอนลูกฟูก จะอยู่ตรงกลางระหว่าง กระดาษแผ่นเรียบทั้ง 2 แผ่น มักใช้กับสินค้าที่มีน้ำหนักปานกลาง หรือ ไม่เน้นความแข็งแรงมากนัก.

ความหนาของกระดาษลูกฟูก

ในที่นี้ก็คือประเภทของลอนกระดาษลูกฟูกที่เขาชอบเรียกกันว่ากระดาษหนา5 ชั้นกระดาษหนา3 ชั้น กระดาษหนา5 ชั้นที่นิยมผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกส่วนใหญ่ก็จะเป็นลอนBC ส่วนกระดาษหนา3 ชั้นที่นิยมใช้ผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกก็จะเป็นลอนA , B , C , E ซึ่งประเภทลอนต่างๆที่จะนำมาใช้สั่งผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก จะมีผลต่อการรับน้ำหนักสินค้าการปกป้องสินค้า  คุณสมบัติการวางซ้อนหรือแม้แต่น้ำหนักของกล่องกระดาษลูกฟูกซึ่งมีผลต่อค่าขนส่ง ถ้าเหล่าพ่อค้าออนไลน์แม่ค้าออนไลน์ แจ้งข้อมูลสำคัญเพิ่มเติมอย่างน้ำหนักสินค้าลักษณะการแตกหักง่ายของสินค้าคุณสมบัติการรับน้ำหนักของสินค้าเพิ่มเข้าไป  ก็จะทำให้เลือกความประเภทลอนกระดาษลูกฟูกได้ตรงตามการใช้งานมากขึ้น

กล่องกระดาษลกฟูกแบ่งออกได้ 3 ประเภทหลัก

กล่องกระดาษลูกฟูก จำเป็นต้องมีความแข็งแรงเพื่อรองรับน้ำหนักของพัสดุ สินค้า โดยจะแบ่งความแข็งแรงของกล่องได้เป็นจำนวนชั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ชั้นหลักๆ ได้ดังนี้

  1. กล่องกระดาษลูกฟูก 2 ชั้น (Singgle Face) ประกอบไปด้วย กระดาษลูกฟูกผิวเรียบ 2 แผ่น ประกบเข้าหากัน นิยมใช้กับพัสดุ สินค้าที่มีน้ำหนักเบา ขนาดเล็ก เป็นกล่องกระดาษลูกฟูกที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด และเป็นชนิดกล่องที่มีราคาถูกที่สุด
  2. กล่องกระดาษลูกฟูก 3 ชั้น (Single Wall) ประกอบไปด้วย กระดาษลูกฟูก 3 แผ่น เป็นกระดาษผิวเรียบ 2 แผ่น ประกบเข้าหากัน และอีก 1 แผ่น เป็นแบบลอนลูกฟูกอยู่ตรงกลางระหว่างกระดาษ ทำให้ช่วยรับน้ำหนักได้มากยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยในการลดแรงกระแทกได้ดี เหมาะกับสินค้า พัสดุ ขนาดกลาง
  3. .กล่องกระดาษลูกฟูก 5 ชั้น (Double Waal) ประกอบไปด้วย กระดาษลูกฟูก 5 แผ่น เป็นกระดาษผิวเรียบ 3 แผ่น ประกบเข้าหากัน โดยมีกระดาษลูกฟูกอีก 2 แผ่น เป็นแบบลอนลูกฟูกขั้นอยู่ตรงกลาง โดยลอนของลูกฟูก 2 แผ่นนี้สามารถสับขนาดของลอนได้ตามความต้องการ เพื่อช่วยให้รับน้ำหนักได้มากขึ้น หรืออยากที่จะช่วยให้รับแรงกระแทก เจาะทะลุได้ดีมากขึ้น ก็สามารถทำได้  โดยแต่ละลอนจะมีความสามารถที่ต่างกันออกไป

 

เกรดของกระดาษลูกฟูก ที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ 

มาดูกันว่าเกรดหรือชนิดของกระดาษจะมีกี่เกรด ดังนี้

KT – กระดาษคราฟท์สีน้าตาลสำหรับทำผิวกล่อง ผลิตจากเยื่อ Recycle100%เพื่อส่งเสริมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแต่ยังคงความสวยงามและความแข็งแกร่ง เหมาะสำหรับกล่องที่ต้องการความมั่นใจในเรื่องความแข็งแรงเหมาะสำหรับการส่งออก ซึ่งสินค้า แบรนด์ต่างประเทศนิยมใช้ ( น้ำหนักมาตราฐาน : 125, 150, 175, 205 กรัม/ตารางเมตร )

KI – กระดาษคราฟท์สีน้ำตาลอ่อนสำหรับทำผิวกล่อง สีอ่อนสบายตาเหมาะกับงานพิมพ์ ภาพหรือตัวหนังสือ ให้มีสีสวยงามด้านการพิมพ์เป็นรองเพียงกระดาษ KS เท่านั้น นิยมใช้กับสินค้าที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมากเท่า KA เหมาะกับกล่องสินค้าทั่วไป เช่น กล่องอาหารสำเร็จรูป กล่องเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการพิมพ์เป็นภาพสี เป็นต้น ( น้ำหนักมาตราฐาน : 125, 150, 185 กรัม/ตารางเมตร )

KA – กระดาษคราฟท์สีเหลืองทองสำหรับทำผิวกล่องมีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ สามารถรองรับน้ำหนักได้ดีเยี่ยม และเป็นสีที่นิยมใช้กันมากในประเทศ เหมาะสำหรับ สินค้าอะไหล่ยนต์ อาหารกระป๋อง กล่องเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการความมั่นใจในเรื่อง ความแข็งแรงทุกรูปแบบ ทั้งการเรียงซ้อน และ การป้องกันการกระแทก ( น้ำหนักมาตราฐาน : 125, 150, 185, 230 กรัม/ตารางเมตร )

KS – กระดาษคราฟท์สีขาวสำหรับทำผิวกล่อง มีความเรียบ สะอาด เหมาะสำหรับ กล่องที่เน้นความสวยงาม และ ช่วยให้การพิมพ์ที่มีสีสันชัดเจน ดูโดดเด่น เพิ่มคุณค่า ให้สินค้าที่บรรจุภายใน นอกจากนี้ กระดาษ KS ยังมีความแข็งแรงสูง สามารถปกป้อง สินค้าได้ดี นิยมใช้สำหรับ กล่องเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเพื่อการส่งออก และกล่องอุปโภค บริโภค ที่ต้องการบ่งบอกถึงความมีระดับของสินค้า เป็นต้น (น้ำหนักมาตราฐาน : 170 กรัม/ตารางเมตร)

KK – กระดาษคราฟท์สีน้ำตาลสำหรับทำผิวกล่อง ผลิตจากเยื่อ Recycled 100% เพื่อส่งเสริมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแต่ยังคงความสวยงามและความแข็งแกร่ง มีคุณสมบัติเด่นในเรื่องการวางเรียงซ้อนเหมาะกับสินค้าส่งออกที่ระบุให้ใช้กล่องที่ทำจากเยื่อ Recycled ทั้งหมด ( น้ำหนักมาตราฐาน : 125, 150,185 กรัม/ตารางเมตร )

CA – กระดาษคราฟท์สีน้าตาลสำหรับทำลอนลูกฟูก ผลิตจากเยื่อ Recycle 100%เพื่อส่งเสริมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เหมาะสำหรับใช้ทำลอนลูกฟูกกล่องกระดาษทุกชนิด หรือใช้ทำเป็น LINER BOARDคุณสมบัติรับน้ำหนักการเรียงซ้อนได้หลายชั้น และทนแรงกระแทก บางครั้ง CA อาจถูกนำมาใช้ทำเป็นกระดาษทำผิวกล่องด้านหลังเพื่อลดต้นทุน ( น้ำหนักมาตราฐาน : 85 100 105 115 125 150 185 กรัม/ตารางเมตร )

บรรจุภัณฑ์กระดาษที่ผลิตมาจากกระดาษลูกฟูก

กล่องกระดาษ 3 ชั้น vs กล่องกระดาษ 5 ชั้น ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการบรรจุสินค้าเพราะว่ากล่องทั้ง 2 เป็นกล่องที่ผลิตมาจากกระดาษลูกฟูก มีคุณสมบัติในการบรรจุสินค้า การรับน้ำหนัก ความแข็งแรงที่ต่างกัน ดังนั้นควรเลือกสิ่งของที่จะใช้บรรจุให้เหมาะสม และยังถือว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมย่อยสลายง่าย กล่องทั้ง 2 ชนิดถึงแม้ว่าจะผลิตมาจากกระดาษลูกฟูกเหมือนกัน แต่ละกล่องจะมีคุณสมบัติและความเหมาะสมในการบรรจุสิ่งของแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างได้ดังนี้

บรรจุภัณฑจากกระดาษลูกฟูก 3 ชั้น

  • ไม่ควรบรรจุของที่มีน้ำหนักเกิน 6 – 10 กิโลกรัม (แบบกระจายน้ำหนักทั่วกล่อง)
  • ไม่เหมาะกับใช้บรรจุของเหลว
  • สามารถบรรจุสินค้าได้หลายประเภท อาทิเช่น เครื่องครัว เสื้อผ้า ของใช้เบ็ดเตล็ด
  • การแพ็คควรแพ็คกล่องให้มิดชิด ป้องกันความสูญเสียระหว่างการขนส่งหรือเคลื่อนย้าย
  • ไม่ควรบรรจุสิ่งของที่เป็นของอันตราย
  • กล่องที่นำไปใช้ควรตรวจสอบว่ามีความเสียหายหรือไม่ อาทิกล่องขาด หรือมีแมลงกันแทะ เป็นต้น

บรรจุภัณฑ์จากกระดาษลูกฟูก 5 ชั้น

  • ไม่ควรบรรจุสินค้าหรือพัศดุที่มีน้ำหนักเกิน 20 กิโลกรัม (แบบกระจายน้ำหนักทั่วกล่อง)
  • ไม่เหมาะกับใช้บรรจุของเหลว
  • สามารถบรรจุสินค้าเพื่อการขนส่งได้หลากหลาย อาทิ บรรจุผลไม้ บรรจุต้นไม้ บรรจุเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
  • ควรบรรจุสินค้าแบบกระจายน้ำหนักเพื่อป้องกันกล่องเกิดความเสียหายได้
  • ไม่ควรใช้บรรจุสิ่งมีชีวิต
  • การเลือกกล่องควรตรวจเช็คตหนิไม่ให้มีเปื่อยยุ่ย กล่องฉีกขาดให้ดี

 

 

FLEXOGRAPHIC PRINTING PRE PRINTING

ระบบการพิมพ์ Flexographic Printing – Pre Printing เป็นระบบการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ที่ใช้แม่พิมพ์พื้นนูนทำจากการฉายแสงบนวัสดุประเภทยางโพลิเมอร์ (Photo Photopolymer) การผลิตและพิมพ์ลงบนผิวกระดาษคราฟ์จากม้วนสู่ม้วน (Roll-to-Roll Printing) ที่ยังไม่ขึ้นรูปเป็นกระดาษลูกฟูกโดยใช้หมึกที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย (Water-based ink) ซึ่งแห้งตัวเร็วและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้คุณภาพการพิมพ์จากระบบการพิมพ์ Pre Print นี้จะมีความแม่นยำสูง (Precision Auto Register) ให้สีสันสวยงามพร้อมเคลือบเงาด้วยระบบวานิช (Water-based Varnish) ในเครื่องจักรตัวเดียว และในบางชิ้นงานระบบการพิมพ์นี้สามารถรองรับการขึ้นรูปโดยการไดคัท (Die Cutting) เป็นชิ้นงานสำเร็จรูปได้ในขั้นตอนเดียว (Roll-to-Box)

การพิมพ์ก่อนขึ้นรูปเป็นกล่องกระดาษด้วยการพิมพ์ระบบ Pre Print นี้จะทำให้กล่องกระดาษลูกฟูกมีความแข็งแรงขึ้นเฉลี่ย 23% (Box Compression Test) และต้นทุนการพิมพ์เฉลี่ยจะถูกกว่าระบบออฟเซ็ต (Offset Printing)